สำนักวิชาการจัดการ

รายวิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด และหลักการเกี่ยวกับการดำเนินงานและห่วงโซ่อุปทาน การออกแบบสินค้าและกระบวนการสำหรับองค์กรในภาคการผลิตและภาคบริการ การจัดการคุณภาพ การวางแผนกำลังการผลิต การจัดการวัตถุดิบ การจัดตารางการผลิต การขนส่งและกระจายสินค้าและการบริหารห่วงโซ่อุปทานในยุคดิจิทัล

This course is prepared to introduce the student to concepts and principles of operations and supply chain management and product and process design of manufacturing and service sector firms, quality management, capacity planning, supplier management, production scheduling, transportation and distribution and digital supply chain management.

การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่กิจการโดยการตัดสินใจลงทุน การบริหารเงินทุนหมุนเวียนภายใต้ภาวะความไม่แน่นอนและการกำหนดโครงสร้างเงินทุนเพื่อสร้างมูลค่าต่อกิจการ โดยคำนึงถึงภาวะกดดันทางการเงิน ปัญหาตัวแทน และความไม่เท่าเทียมกันของข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งผลการจัดหาเงินทุนต่อการตัดสินใจลงทุน การวิเคราะห์กรณีศึกษาทางการจัดการทางการเงิน

The maximization of firm’s value including investment decision making under uncertainty; working capital management and determination of capital structure concerning the financial distress, agency problem and asymmetry of information; financing policy affecting investment decision; analysis of case studies in financial management. 

รายวิชานี้ศึกษาการนำเทคโนโลยีทางการเงินมาใช้สำหรับการจัดการการเงิน เงินตราอิเลคทรอนิกส์และระบบชำระเงินอิเลคทรอนิกส์ การระดมทุนสาธารณะ โดยนักศึกษาจะได้ฝึกใช้เทคโนโลยีต่างๆ เพื่อการจัดการทางการเงิน
This course studies an application of financial technology for financial management, electronic money and electronic payment; crowdfunding. Student will practice to use those financial technology for financial management.

บทบาทและโครงสร้างของตลาดเงิน ตลาดตราสารหนี้ ตลาดตราสารทุน ตลาดเงินตราระหว่างประเทศ และตลาดตราสารอนุพันธ์ กลไกการทำงานของตลาดเหล่านี้ รวมทั้งเครื่องมือทางการเงินประเภทต่างๆ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ์ หน่วยลงทุน ฟิวเจอร์ ออปชั่น ฯลฯ ผลตอบแทนและความเสี่ยงของหลักทรัพย์ บทบาทของสถาบันการเงินประเภทต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์ บริษัทหลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม บริษัทประกันภัย สถาบันการเงินภาครัฐ ฯลฯ